วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

คำสมาส


คำสมาส การสร้างคำสมาสในภาษาไทยได้แบบอย่างมาจากภาษาบาลีและสันสกฤต โดยนำคำบาลี-สันสกฤต ตั้งแต่สองคำมาต่อกันหรือรวมกัน

ลักษณะของคำสมาสเป็นดังนี้
          ๑. เป็นคำที่มาจากภาษาบาลี-สันสกฤตเท่านั้น คำที่มาจากภาษาอื่นๆ นำมาประสมกันไม่นับเป็นคำสมาส ตัวอย่างคำสมาส
บาลี+บาลี เช่นอัคคีภัย วาตภัย โจรภัย อริยสัจ ขัตติยมานะ อัจฉริยบุคคล
สันสกฤต+สันสกฤต เช่น แพทยศาสตร์ วีรบุรุษ วีรสตรี สังคมวิทยา ศิลปกรรม
บาลี+สันสกฤต, สันสกฤต+บาลี เช่น หัตถศึกษา นาฎศิลป์ สัจธรรม สามัญศึกษา

          ๒. คำที่รวมกันแล้วไม่เปลี่ยนแปลงรูปคำแต่อย่างใด เช่น
วัฒน+ธรรม = วัฒนธรรม
สาร+คดี = สารคดี
พิพิธ+ภัณฑ์ = พิพิธภัณฑ์
กาฬ+ปักษ์ = กาฬปักษ์
ทิพย+เนตร = ทิพยเนตร
โลก+บาล = โลกบาล
เสรี+ภาพ = เสรีภาพ
สังฆ+นายก = สังฆนายก

          ๓. คำสมาสเมื่อออกเสียงต้องต่อเนื่องกัน เช่น
ภูมิศาสตร์ อ่านว่า พู-มิ-สาด
เกียรติประวัติ อ่านว่า เกียด-ติ-ประ-หวัด
เศรษฐการ อ่านว่า เสด-ถะ-กาน
รัฐมนตรี อ่านว่า รัด-ถะ-มน-ตรี
เกตุมาลา อ่านว่า เก-ตุ-มา-ลา

          ๔. คำที่นำมาสมาสกันแล้ว ความหมายหลักอยู่ที่คำหลัง ส่วนความรองจะอยู่ข้างหน้า เช่น
ยุทธ (รบ) + ภูมิ (แผ่นดิน สนาม) = ยุทธภูมิ (สนามรบ)
หัตถ (มือ) + กรรม (การงาน) = หัตถกรรม (งานฝีมือ)
คุรุ (ครู) + ศาสตร์ (วิชา) = คุรุศาสตร์ (วิชาครู)
สุนทร (งาม ไพเราะ) + พจน์ (คำกล่าว) = สุนทรพจน์ (คำกล่าวที่ไพเราะ)

หลักการสังเกต
          ๑. คำสมาสต้องเป็นคำบาลี สันสกฤตเท่านั้น
          ๒. คำสมาสมีลักษณะคล้ายการนำคำสองคำมาวางเรียงต่อกัน เวลาอ่านจะมีเสียงสระต่อเนื่องกัน
          ๓. ไม่มีการประวิสรรชนีย์ (ะ) หรือเครื่องหมายทัณฑฆาต ( ์ )
          ๔. การเรียงคำ คำหลักจะอยู่ข้างหลัง ดังนั้นการแปลจึงแปลความหมายจากหลังมาหน้า
          ๕. คำ "พระ" ประกอบหน้าคำบาลี สันสกฤต จัดเป็นคำสมาส
          ๖. คำที่ลงท้ายด้วยคำว่า ศาสตร์ กรรม ภาพ ภัย ศึกษา มักเป็นคำสมาส

บทกวี

ความสุขคือการปล่อยวาง
ความสุขคือการชนะความอยาก
ความสุขคือความสงบ
ความสุขคือความโล่งโป่งเบาสบาย
ความสุขเกิดจากการได้เรียนรู้ธรรมชาติว่าเป็นอย่างไร
ความสุขคือการให้
 

 

ความสุขคือการได้ช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น
ความสุขคือการละชั่ว กระทำแต่ความดี
ความสุขคือการไม่ยึดมั้นถือมั้น
ความสุขคือการได้ให้อภัย
ความสุขคือการไม่โกรร เกลียด ชิงชัง อิจฉาริษยา จองเวร
ความสุขคือการไม่โลภ อยากได้สิ่งของที่เป็นของคนอื่น
ความสุขคือการมีสันธ ความพอใจในสิ่งที่ตนเองมี

การฝึกสมาธิ


วิธีการฝึกสมาธิ เบื้องต้น PDF Print E-mail
สมาธิ คือ ความสงบ สบาย และความรู้สึกเป็นสุขอย่างยิ่งที่มนุษย์สามารถสร้างขึ้นได้ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่พระพุทธศาสนากำหนดเอาไว้เป็นข้อควรปฏิบัติ เพื่อการดำรงชีวิตทุกวันอย่างเป็นสุข ไม่ประมาท เต็มไปด้วยสติสัมปชัญญะ และปัญญา อันเป็นเรื่องไม่เหลือวิสัย ทุกคนสามารถปฏิบัติได้ง่ายๆ ดังวิธีปฏิบัติที่พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ได้เมตตาสั่งสอนไว้ดังนี้

1. กราบบูชาพระรัตนตรัย เป็นการ เตรียมตัวเตรียมใจให้นุ่มนวลไว้เป็นเบื้องต้น แล้วสมาทานศีล ๕ หรือ ศีล ๘ เพื่อย้ำความมั่นคงในคุณธรรมของตนเอง

2. คุกเข่าหรือนั่งพับเพียบสบายๆ ระลึกถึงความด ี ที่ได้กระทำแล้วในวันนี้ ในอดีต และที่ตั้งใจจะทำต่อไปในอนาคต จนราวกับว่าร่างกายทั้งหมดประกอบขึ้นด้วยธาตุแห่งคุณงามความดีล้วนๆ

3. นั่งขัดสมาธิ เท้าขวาทับเท้าซ้าย มือขวาทับมือซ้าย นิ้วชี้ของมือข้างขวาจรดนิ้วหัวแม่มือข้างซ้าย นั่งให้อยู่ในท่าที่พอดี ไม่ฝืนร่างกายมากจนเกินไป ไม่ถึงกับเกร็ง แต่อย่าให้หลังโค้งงอ หลับตาพอสบายคล้ายกับกำลังพักผ่อน ไม่บีบกล้ามเนื้อตาหรือขมวดคิ้ว แล้วตั้งใจมั่น วางอารมณ์สบาย สร้างความรู้สึกให้พร้อมทั้งกายและใจว่ากำลังจะเข้าไปสู่ภาวะแห่งความสงบ สบายอย่างยิ่ง

4. นึกกำหนดนิมิต เป็น "ดวงแก้วกลมใส" ขนาดเท่าแก้วตาดำ ใสบริสุทธิ์ ปราศจากรอยตำหนิใดๆ ขาวใส เย็นตาเย็นใจ ดังประกายของดวงดาว ดวงแก้วกลมใสนี้เรียกว่า บริกรรมนิมิต นึกสบายๆ นึกเหมือนดวงแก้วนั้นมานิ่งสนิทอยู่ ณ ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ นึกไปภาวนาไปอย่างนุ่มนวล เป็นพุทธานุสติว่า "สัมมา อะระหัง" หรือค่อยๆ น้อมนึกดวงแก้วกลมใสให้ค่อยๆ เคลื่อนเข้าสู่ศูนย์กลางกาย ตามแนวฐาน โดยเริ่มต้นตั้งแต่ฐาน ที่ ๑ เป็นต้นไป น้อมนึกอย่างสบายๆ ใจเย็นๆ ไปพร้อมๆ กับคำภาวนา

ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ




          



               การออกกำลังกายไม่ได้หมายถึงการต้องไปแข่งขันกีฬากับผู้อื่น แต่การออกกำลังกายเป็นการแข่งขันกับตัวเอง
หลายคนก่อนจะออกกำลังกายมักจะอ้างเหตุผลของการไม่ออกกำลังกาย เช่น ไม่มีเวลา ไม่มีสถานที่ ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ ปัญหาเกี่ยวกับอากาศ ทั้งหมดเป็นข้ออ้างที่จะไม่ออกกำลังกาย แต่ลืมไปว่าการออกกำลังกาย อาจจะให้ผลดีมากกว่าสิ่งที่เขาเสียไป
เป็นที่น่าดีใจว่าการออกกำลังให้สุขภาพดีไม่ต้องใช้เวลา มากมาย เพียงแค่วันละครึ่งชั่วโมงก็พอ และก็ไม่ต้องใช้พื้นที่หรือเครื่องมืออะไร มีเพียงพื้นที่ในการเดินก็พอแล้ว การออกกำลังจะทำให้รูปร่างดูดี กล้ามเนื้อแข็งแรง ป้องกันโรคหัวใจ ป้องกันโรคกระดูกพรุน ป้องกันโรคอ้วน การออกกำลังกายทำให้ร่างกายสดชื่น มีพลังที่จะทำงานและต่อสู้กับชีวิต นอกจากนั้นยังสามารถลดความเครียดได้ด้วย

วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555

นิทาน เรื่องชาวสวนโลภมาก





                       

        จำนวน 12  หน้า    แต่งโดย   นางสาววนัชพร  ศรีกำพล 
         เรื่อง  ย่อ
           นิทานเรื่อง  ชาวสวนโลภมากเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับครอบครัวหนึ่งที่มีเงินมากระดับมหาเศรษฐี พวกเขามีอาชีพทำสวนยางพารา ครอบครัวนี้ไม่รู้จักพอประมาณคือเกิดความโลภมากจึงทำให้พวกเขาไม่เหลืออะไรเลย เป็นเพราะ ความโลภมากไม่รู้จักพอเพียง

                                                                              หน้า 1
หน้า  2
                                                                           หน้า  3

                                                                            
                                                                     หน้า  4

                                                                           หน้า  5

     

                                                                       หน้า  6

                                                                                หน้า  7

   
                                                                             หน้า  8
หน้า  9

หน้า  10




                                                            หน้า  11



                                                          หน้า  12


คลิกดาวโหลดที่นี่

เทคนิคในการอ่านในใจ



                                                           การอ่านในใจ
       
     การอ่านในใจเป็นบทบาทเฉพาะตัวของบุคคล ที่มีจุดมุ่งหมายจะจับใจความอย่างรวดเร็ว คือ รู้เรื่องเร็วและถูกต้องโดยไม่ใช้อวัยวะที่ช่วยในการออกเสียงเคลื่อนไหวเลย การอ่านในใจจะช่วยให้เข้าใจเนื้อความได้เร็วกว่าการอ่านออกเสียง และผู้อ่านจะรับรู้เรื่องราวเเต่เพียงผู้เดียว

วิธีการอ่านในใจ
๑.  การอ่านอย่างละเอียด เป็นการอ่านเพื่อศึกษาหาความรู้ ผู้อ่านจะต้องมีพื้นฐานความรู้ในเรื่องที่อ่านพอสมควร ควรอ่านรายละเอียดของเรื่องตั้งเเต่ต้นจนจบ จะทำให้มองเห็นการเชื่อมโยงระหว่างใความสำคัญได้
๒.  ผู้อ่านต้องมีจุดมุ่งหมายในการอ่าน และต้องมีพื้นฐานความรู้ในเรื่องที่จะอ่าน ในการอ่านผู้อ่านจะต้องจับใจความส่วนรวมให้ได้ว่าเป็นเรื่องอะไร เมื่ออ่านจบควรเรียบเรียงใจความสำคัญเป็นภาษาของตนเอง
๓.  อ่านอย่างรวดเร็ว เป็นการอ่านที่ไม่ต้องเก็บรายละเอียด แต่อ่านเพื่อให้ทราบเรื่องราวเท่านั้น นิยมใช้อ่านหนังสือประเภทบันเทิงคดีเพื่อผ่อนคลายอารมณ์ เช่น อ่านนวนิยาย เรื่องสั้น นิตยสาร หนังสือพิมพ์
๔.  อ่านอย่างคร่าวๆ เป็นการอ่านอย่างรวดเร็ว เพื่อต้องการค้นหาคำตอบจากข้อความบางตอน การอ่านวิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีพิ้นฐานการอ่านที่ดีพอ
๕.  อ่านเพื่อวิจารณ์ ผู้อ่านต้องใช้ประสบการณ์เดิมของตนให้เป็นประโยชน์ เพื่อทำความเข้าใจจุดมุ่งหมายของผู้เขียน การเสนอข้อเท็จจริง และข้อคิดเห็น หรือการใช้ความหมายตรง และโดยนัย

แนวปฏิบัติในการอ่านในใจ
การอ่านในใจต้องอาศัยความเเม่นยำในการจับตามองดูตัวหนังสือ การเคลื่อนไหวสายตา การเเบ่งช่วงวรรคตอน ซึ่งต้องฝึกให้เกิดความเเม่นยำและรวดเร็วจึงจะสามารถเก็บได้ครบทุกคำ
การอ่านในใจมีเเนวปฏิบัติ ดังนี้
๑.  กวาดสายตามองตัวอักษณให้ได้ช่วงประมาณ ๕-๖ คำ เป็นอย่างน้อย
๒.  ไม่ควรทำปากขมุบขมิบในขณะอ่าน ต้องฝึกเรื่องอัตราความเร็วของตาและสมอง
๓.  ไม่ควรอ่านย้อนหลังจากอ่านจบ อ่านจากซ้ายไปขวาโดยตลอด
๔.  ทดสอบความเข้าใจหลังจากอ่านจบ โดยใช้วิธีตั้งคำถามสรุปเรื่องราวที่อ่าน
การพัฒนาการอ่านในใจ
การอ่านในใจเป็นทักษะที่สามารถพัฒนาได้เช่นเดียวกับการอ่านออกเสียง ซึ่งนักเรียนทุกคนควรฝึกฝนให้ชำนาญ เพราะการอ่านหนังสือได้มาก เป็นวิธีการฝึกฝนตนเองให้อ่านได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
วิธีฝึกการอ่านในใจ มีดังนี้
๑.  อ่านข้อความง่ายๆ ไม่มีคำศัพท์มาก ไม่ซับซ้อน ยาวประมาณ ๑ หน้า
๒.  จับเวลาที่ใช้ในการอ่านข้อความนั้น
๓.  ตั้งคำถามเพื่อถามตนเองเกี่ยวกับเรื่องราวหรือข้อความที่อ่าน
๔.  สำรวจตนเองว่าตอบคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่อ่านได้มากเพียงใด
๕.  อ่านข้อความนั้นซ้ำอีกครั้งหนึ่ง พยายามทำเวลาในการอ่านให้น้อยลง
๖.  ตอบคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่อ่านอีกครั้งว่าตอบได้ดีกว่าครั้งเเรกหรือไม่

มารยาทในการฟัง





http://upic.me/i/ua/8d016.jpg





มารยาทในการฟัง

1. เมื่อฟังอยู่เฉพาะหน้าผู้ใหญ่ ควรฟังโดยสำรวมกิริยามารยาท ฟังด้วยความสุภาพเรียบร้อย และตั้งใจฟัง
2. การฟังในที่ประชุม ควรเข้าไปนั่งก่อนผู้พูดเริ่มพูด โดยนั่งที่ด้านหน้าให้เต็มก่อนและควรตั้งใจฟังจนจบเรื่อง
3. จดบันทึกข้อความที่สนใจหรือข้อความที่สำคัญ หากมีข้อสงสัยเก็บไว้ถามเมื่อมีโอกาสและถามด้วยกิริยาสุภาพ เมื่อจะซักถามต้องเลือกโอกาสที่ผู้พูดเปิดโอกาสให้ถาม หรือยกมือขึ้นขออนุญาตหรือแสดงความประสงค์ในการซักถาม ถามด้วยถ้อยคำสุภาพ และไม่ถามนอกเรื่อง
4. มองสบตาผู้พูด ไม่มองออกนอกห้องหรือมองไปที่อื่น อันเป็นการแสดงว่าไม่สนใจเรื่องที่พูด และไม่เอาหนังสือไปอ่านขณะที่ฟัง หรือนำอาหารเครื่องดื่มเข้าไปรับประทานระหว่างฟัง
5. ฟังด้วยใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสเป็นกันเองกับผู้พูด แสดงสีหน้าพอใจในการพูด ไม่มีแสดงกิริยาก้าวร้าว เบื่อหน่าย หรือลุกออกจากที่นั่งโดยไม่จำเป็นขณะฟัง
6. ฟังด้วยความสุขุม ไม่ควรก่อความรำคาญให้บุคคลอื่น ควรรักษามารยาทและสำรวมกิริยา ไม่หัวเราะเสียงดังหรือกระทืบเท้าแสดงความพอใจหรือเป่าปาก
7. ฟังด้วยความอดทนแม้จะมีความคิดเห็นขัดแย้งกับผู้พูดก็ควรมีใจกว้างรับฟังอย่างสงบ
8. ไม่พูดสอดแทรกขณะที่ฟัง ควรฟังเรื่องให้จบก่อนแล้วค่อยซักถามหรือแสดงความคิดเห็น
9. ควรให้เกียรติวิทยากรด้วยการปรบมือ เมื่อมีการแนะนำตัวผู้พูด ภายหลังการแนะนำ และเมื่อวิทยากร พูดจบ